Mikuru Asahina - The Melancholy Of Haruhi Suzumiya
♥♥♥โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม♥♥♥

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปพระพุทธศาสนา ม.๖

พระพุทธศาสนา
- สถานที่ในพุทธประวัติ
1) ประสูติ (สวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงเทวทหะ
กับกรุงกบิลพัสดุ์)
2) ตรัสรู้ (ต้นโพธิ์)
3) ปรินิพพาน (ต้นสาระ นอกกรุงกุสินารา)
- ทศชาติชาดก
1) เตมียชาดก (เนกขัมมบารมี)
2) มหาชนกชาดก (วิริยบารมี)
3) สุวรรณสามชาดก (เมตตาบารมี)
4) เนมิราชชาดก (อธิษฐานบารมี)
5) มโหสถชาดก (ปัญญาบารมี)
6) ภูริทัตชาดก (ศีลบารมี)
7) จันทกุมารชาดก (ขันติบารมี)
8) นารทชาดก (อุเบกขาบารมี)
9) วิฑูรชาดก (สัจจบารมี)
10) เวสสันดรชาดก (ทานบารมี)
- พระสูตร ที่โปรดชาวโลก
1) ธัมจักรกัปปวัตนสูตร
(ปฐมเทศนา) ทางสายกลาง และอริยสัจ ๔
สั่งสอน ปัญจวัคคีย์จนบรรลุโสดาบัน
2) อนัตตลักขณสูตร
(อนัตตาในขันธ์ ๕ สั่งสอนปัญจวัคคีย์)
3) อาทิตปริยายสูตร (กิเลสตัณหา คือ ของร้อน
สั่งสอนชฎิล 3 พี่น้อง)
4) โอวาทปาติโมกข์ (ทำดี ละชั่ว ทำจิตให้บริสุทธิ์
สั่งสอนพระสงฆ์ 1,250 รูป)
5) ปัจฉิมโอวาท (ความไม่ประมาท สั่งสอน
พระอานนท์และพระสงฆ์)
- พระไตรปิฎก มี 3 หมวด
1) พระวินัยปิฎก (ว่าด้วยสิกขาบทภิกษุ ภิกษุณี)
2) พระสุตตันตปิฎก
(รวบรวมพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า)
3) พระอภิธรรมปิฎก
(เป็นธรรมขั้นสูงในแง่วิชาการล้วนๆ)
- สาเหตุการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 1
เกิดจากปรารภพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรม-
วินัย มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานสงฆ์ จัดทำ
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณ-
คูหา ข้างภูเขาเวภาร
- หลักธรรม
1) อริยสัจ ๔
ธรรมที่ควรรู้ (นาม-รูป, โลกธรรม ๘, จิต
เจตสิก)
ธรรมที่ควรละ (นิยาม ๕, กรรม ๑๒, อุปาทาน ๔,
ปฏิจจสมุปบาท, นิวรณ์ ๕, มิจฉาวณิชชา ๕,
นิวรณ์ ๕, วิตก ๓)
ธรรมที่ควรบรรลุ (ภาวนา ๔, วิมุตติ ๕)
ธรรมที่ควรเจริญ (พระสัทธรรม ๓, อธิปไตย ๓,
ปัญญาวุฒิธรรม ๔, ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔, พละ ๕,
อุบาสกธรรม ๕, โภคอาทิยะ ๕, อริยวัฑฒิ ๕,
อปริหานิยธรรม ๗, ทศพิธราชธรรม ๑๐,
มงคล ๓๘)
2) มรรค ๘ ไปสู่ไตรสิกขา
ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
ปัญญา (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ)
พุทธศาสนสุภาษิต
1) จิตตํ ทนฺตํ สุขาวหํ (จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้)
2) น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ
(บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ)
3) นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต (คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก)
4) โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
(ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข)
5) ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
(คนขยันเอาการเอางานกระทำเหมาะสมย่อม
หาทรัพย์ได้)
6) วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา
(เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะประสบ
ความสำเร็จ)
7) ราชา มุขํ มนุสฺสานํ
(พระราชา เป็นประมุขของประชาชน)
8) สติ โลกสฺมิ ชาคโร
(สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก)
9) นิพพานํ ปรมํ สุขํ (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)
10) นตถิ สนติปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ
1) อุบายมนสิการ (เป็นการคิดหรือพิจารณาโดย
อุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี)
2) ปถมนสิการ
(เป็นการคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ)
3) การณมนสิการ (การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการ
สืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุ
ปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ)
4) อุปปาทกมนสิการ
(การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม)
หน้าที่ชาวพุทธ
1. ศึกษาหาความรู้ คือ ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
2. ปฏิบัติตามหลักธรรมและพิธีกรรมทางศาสนา
3. เผยแผ่พุทธศาสนา ส่งเสริมกิจกรรม อุปถัมภ์พุทธ-
ศาสนา ปฏิบัติธรรม
4. ปกป้องพุทธศาสนา

พุทธสาวก พุทธสาวิกา
1) พระอัสสชิ
- พระอัสสชิเป็นผู้ชักจูงให้ “อุปติสสะ” (พระสารีบุตร)
และ “โกลิตะ” (พระโมคคัลลานะ) สองนักบวช
ปริพาชก บวชเป็นพระสงฆ์สาวกในพระพุทธศาสนา
ซึ่งต่อมาท่านทั้งสองได้รับความไว้วางใจจาก
พระพุทธเจ้าให้ทำหน้าที่เป็นอัครสาวกเบื้องขวา
และเบื้องซ้าย ตามลำดับ
2) พระกีสาโคตมีเถรี
- บุตรของนางเสียชีวิตทำให้นางสติฟั่นเฟือน พระพุทธ-
องค์รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้าน
ของชาวบ้านที่ไม่เคยมีญาติพี่น้องเสียชีวิต เพื่อ
นำมาใช้ปรุงยา แต่นางหาไม่ได้ทำให้นางรู้สัจธรรม
ของชีวิต “เอตทัคคะ” ในด้านการครองจีวรเศร้า
หมอง
3) พระนางมัลลิกา
- เป็นสตรีที่มีความงามแบบเบญจกัลยาณี
(ผมงาม เนื้องาม กระดูกงาม ผิวงาม และวัยงาม)
- พันธุละเสนาบดีซึ่งเป็นสามีของพระนางถูกใส่ร้าย
ว่าคิดก่อการกบฏ ทำ ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล
วางแผนลอบสังหารพันธุละเสนาบดี พร้อมทั้ง
บุตรชายที่เป็นทหารจนหมด ครั้นเมื่อทราบข่าวร้าย
พระนางมัลลิกาสามารถควบคุมอารมณ์โศกเศร้าไว้ได้
และอบรมให้ลูกสะใภ้ให้อภัยในความผิดพลาดของ
พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ผูกพยาบาท ซึ่งแสดงให้เห็น
ว่านางเป็น ผู้มีขันติธรรม รู้จักให้อภัย
4) หมอชีวก โกมารภัจจ์
- แม่เป็นโสเภณี
- เป็นหมอหลวงในราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร
ถวายการรักษาอาการป่วยโรค “ภคันทลาพาธ”
(ริดสีดวงทวาร)
- ถวายสวนมะม่วงของตนให้เป็นที่ประทับของ
พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก (ชีวกัมพวัน) เป็น
วัดในพระพุทธศาสนาแห่งที่ 2 ของเมืองราชคฤห์
- กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย
เพิ่มเติม
- อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าจีวรที่ชาวบ้านนำมาถวายได้
- ห้ามมิให้คนป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรงมาบวชเป็น
พระภิกษุ
5) พระนาคเสนเถระ
- มีสติปัญญาหลักแหลม ปฏิภาณไหวพริบดี และ
ตอบปัญหาข้อซักถามทางธรรมของพระยามิลินท์
ได้อย่างคล่องแคล่ว
- เป็นผู้รักการศึกษาเล่าเรียน แสวงหาความรู้ที่
เรียกว่า “ธัมมกามตา”
6) พระยามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ (Menandra)
- เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกปกครองอินเดีย
- ทรงให้ทำเหรียญเป็นรูปตราธรรมจักร (เครื่องหมาย
ของพระพุทธศาสนา) เพื่อเผยแผ่ และขยาย
อาณาเขตพระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป
7) พระอนุรุทธะ
- เจ้าชายอนุรุทธะรู้ว่าการงานของผู้ครองเรือนยิ่ง
ลำ บาก จึงตัดสินพระทัยออกบวช ไปทูลขอ
อนุญาตจากพระมารดา พระมารดาไม่ประสงค์จะ
ให้ออกบวช จึงบ่ายเบี่ยงให้เจ้าชายอนุรุทธะไป
ชวนเจ้าชายภัททิยะ เมื่อเจ้าชายภัททิยะตกลง
พระทัยที่จะออกบวช ทำให้เจ้าชายที่เป็นพระ
สหายที่เหลือก็ได้ตกลงพระทัยออกบวชตาม
- รักสันโดษในปัจจัย 4 และมีตาทิพย์ โดยพิจารณา
บุคคลที่สมควรสั่งสอนธรรม
8) องคุลิมาล
- องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า องคุลี (นิ้วมือ) + มาล
(สร้อยคอ สาย หรือแถว) แปลว่า สร้อยคอที่ทำ
จากนิ้วมือ
- เดิมชื่อ อหิงสกะ ถูกอาจารย์ยุยงว่าถ้าต้องการ
สำเร็จวิชาให้ตัดนิ้ว 1,000 นิ้ว องคุลิมาลทำจนครบ
จนครบ 999 คน เมื่อมาพบพระพุทธเจ้าจึงตรัส
สั่งสอนจนขอบวชเป็นพุทธสาวก เมื่อบิณฑบาต
ทั้งในและนอกเมืองสาวัตถี มักถูกญาติพี่น้องของ
ผู้ตายใช้ก้อนหินขว้างปาทำร้ายให้ได้รับบาดเจ็บ
อยู่เสมอ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้น
เป็นคนขยันรักการศึกษาเล่าเรียน และเป็นคน
มักน้อย สันโดษ
9) พระธัมมทินนาเถรี
- สามีได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า และ
ได้สำเร็จมรรคผลขั้นอนาคามี ไม่ยินดีในกามกิเลส
รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส และอธิบาย
ความสุขในรสพระธรรมให้ภรรยาฟังจนนางธัมม-
ทินนาเถรีเกิดศรัทธาประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี
- ได้รับยกย่องด้านธรรมกถึก (ผู้แสดงธรรม)
10) จิตคหบดี
- พบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่าน
สงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา
- สร้างที่พำนักแก่พระมหานามะเพื่อเทศนา ชื่อสวน
อัมพาฏการาม
- จิตตคหบดีกล่าวว่า “ศรัทธาความเชื่อที่ไม่คลอน
แคลนในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ประเสริฐกว่าสิ่งใดทั้งหมด” แสดงว่าเป็นผู้ศรัทธา
ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย
11) พระอานนท์
- ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ
(ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่
1. เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)
2. เป็นผู้มีสติ
3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)
4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ
- เป็นผู้สังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 1
- เป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า (เกิดร่วมกับ
พระพุทธเจ้า)
12) พระปฏาจาราเถรี
- สามี บุตร และบิดามารดา เสียชีวิตทั้งหมดทำให้
นางสติฟั่นเฟือน เมื่อนางได้ฟังธรรมจาก
พระพุทธเจ้าจึงขอบวชเป็นภิกษุณี เป็นยอดแห่ง
พระวินัย คือ จำพระวินัยได้มาก
13) จูฬสุภัททา
- เป็นธิดาของเศรษฐี ชื่อว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี
เมื่อนางแต่งงานไปอยู่บ้านของสามี พ่อสามีชื่อ
อุคคเศรษฐี ได้เชิญพวกชีเปลือยมา นางไม่กราบไหว้
และชี้ให้ทางบ้านของสามีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
14) สุมนมาลาการ
- เป็นผู้เก็บดอกมะลิถวายพระเจ้าพิมพิสาร
- เมื่อพระพุทธเจ้าทราบว่านายสุมนมาลาการ
ศรัทธาในพระองค์จึงตรัสแก่ภิกษุว่า เสด็จมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อน
ในภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีความสุขใจ นั่นแหละ
เรียกว่า กรรมดี
- เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความศรัทธาต่อพระพุทธ-
ศาสนา
ชาวพุทธตัวอย่าง
1) สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
เป็นผู้บุกเบิกการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่าย
มหานิกาย ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ท่าพระจันทร์
กรุงเทพมหานคร
2) พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เป็นพระป่าหรือพระนักปฏิบัติ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน
ชอบธุดงค์ตามป่า ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายถือสันโดษ
3) อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
- เป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นอาจารย์
สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ผลงาน ได้แก่
- จัดทำนิตยสารธรรมจักษุ
- ร่วมก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
(พ.ส.ล.) ณ ประเทศศรีลังกา
- ก่อตั้งโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ใน
ประเทศไทย และยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยเสนอ
ให้ยกฐานะสภาการศึกษาของมหามกุฎราช-
วิทยาลัย (วัดบวรนิเวศน์ฯ) เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
(ฝ่ายธรรมยุต)
4) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ทรงให้เสรีภาพในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่
บาทหลวงชาวฝรั่งเศส และยินยอมให้ราษฎร
ชาวไทยเข้ารับนับถือได้ตามศรัทธา
- ทรงทำนุบำรุงกิจการของพระพุทธศาสนา เช่น
ทรงบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น
5) พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
- จัดตั้งสำนักสงฆ์ “สวนโมกขพลาราม” บริเวณ
วัดธารน้ำไหล ที่สุราษฎร์ธานี
- ผลงานเด่น คือ การเผยแผ่ธรรมะ เช่น คู่มือ
มนุษย์ ตัวกูของกู แก่นพุทธศาสน์ ธรรมโฆษณ์
พระพุทธเจ้าสอนอะไร เป็นต้น
6) พระปัญญานันทภิกขุ
- ได้รับรางวัล “สังข์เงิน” จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์-
แห่งประเทศไทย
- สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับท้ายสุด คือ พระพรหมมังคลา-
จารย์
- เป็นพระนักเทศน์
7) ดร.อัมเบดการ์
- เกิดในวรรณะศูทร ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของคน
วรรณะศูทรและจัณฑาล เมื่อ พ.ศ. 2467 โดยใช้วิธี
ต่อสู้แบบอหิงสา คือ สงบและสันติ ตลอดจนต่อสู้
ให้กับสตรีที่ถูกกดขี่และไม่ได้รับการยอมรับในความ
เสมอภาคเท่าเทียมกับชาย
- ได้รับสมญานามว่า มนุษย์กระดูกเหล็ก ฝีปากกล้า
และอภิชาตบุตรของชาวหริจันทร์ (ชาวศูทร)
8) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย ซึ่ง
เสร็จทันการฉลองรัชดาภิเษก (ครองราชย์ครบ 25 ปี)
- การสร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด คือ วัดราชบพิธ
วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางค์นิมิต
วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ และ
ทรงปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ โดยพระราชทรัพย์ส่วน
พระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า-
มหาวชิรุณหิศ วัดมหาธาตุ จึงมีสร้อยนามในเวลา
ต่อมาว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”
- สร้างวิทยาลัยสงฆ์
- ทรงตราพระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวในการบริหาร
คณะสงฆ์ ปี ร.ศ. 121 นับเป็นกฎหมายของพระสงฆ์ไทย
9) พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)
เป็นพระวิปัสสนา และเผยแผ่ธรรมะไปยังต่างประเทศ
10) พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต)
- ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” สาขาเผยแผ่
พระพุทธศาสนา
- ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การ
ยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
- เป็นพระนักปราชญ์และพระเทศน์
- ผลงานเด่น เช่น พจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์, ธรรมนูญ-
แห่งชีวิต, เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, นิติศาสตร์แนว-
พุทธ, พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์
11) อนาคาริก ธรรมปาละ
- เป็นคนศรีลังกา เดิมชื่อ ดอน เดวิด
- พัฒนาป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ให้เป็นพุทธสถาน
สำคัญ
- เรียกร้องให้พุทธคยา กลับมาอยู่ในความดูแลของ
ชาวพุทธ
- รัฐบาลอินเดีย ยังได้นำสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
ได้แก่ หัวสิงห์สี่หัวของพระเจ้าอโศก กลายเป็น
สัญลักษณ์ประจำชาติของอินเดีย ธรรมจักรที่ฐานก็
ปรากฏอยู่ในธงชาติของอินเดียอีกด้วย
ศาสนพิธี แบ่งตามพิธี
1) กุศลพิธี
พิธีกรรมที่ดีงาม บำเพ็ญกุศล เช่น การแสดงตนเป็น
พุทธมามกะ, รักษาอุโบสถศีล, เวียนเทียน
2) บุญพิธี
พิธีทำบุญตามประเพณีนิยมในครอบครัว ชาวพุทธ เช่น
งานมงคล, งานอวมงคล
3) ทานพิธี
ทานที่ถวายแก่สงฆ์ เช่น ปาฏิบุคลิกทาน, สังฆทาน,
ทอดกฐิน
วันสำคัญทางพุทธศาสนา
1) วันมาฆบูชา
- โอวาทปาติโมกข์
- จาตุรงคสันนิบาต
2) วันวิสาขบูชา
- ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
- สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
- นางสุชาดากวนข้าวมธุปายาสถวายก่อนตรัสรู้
(วันปลูกต้นไม้ประจำปีของชาติ)
3) วันอาสาฬหบูชา
- พระรัตนตรัยครบองค์ 3
- ธัมมจักกัปวัตนสูตร
- อริยสงฆ์องค์แรก
4) วันอัฏฐมีบูชา
วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระที่มกุฎพันธนเจดีย์
5) วันเข้าพรรษา
พระสงฆ์จำวัดนาน 3 เดือน
6) วันออกพรรษา
- วันมหาปวารณา (การว่ากล่าวตักเตือนกัน)
- ตักบาตรเทโว
7) วันธรรมสวนะ
มี 4 วันต่อ 1 เดือน

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การระเบียบทางสังคม


             การจัดระเบียบทางสังคม  หมายถึง  วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นมาเพื่อให้คนที่มาอยู่รวมกันประพฤติปฏิบัติตาม  รวมทั้งทำให้สังคมมีความมั่นคงและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย... อ่านต่อ

สังคมมนุษย์

ความหมาย การอยู่ร่วมกัน และองค์ประกอบของสังคม
ความหมายของสังคม
            สังคม คือ กลุ่มคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไปมาอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณหนึ่ง ซึ่งคนเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ หรือการกระทำโต้ตอบกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อม...  อ่านต่อ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายในชีวิตประจำวัน


1.   ความหมายของกฎหมาย

     กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  
เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม... อ่านต่อ